...คริๆ.. แวะเที่ยวนอกแผนอีกแล้ว..ก็มันน่าสนใจนี่น่า
ระหวางทางที่ขับ ...เจอชุมชน..แถมมีบ้านแบบเก่าๆ อีกแล้ว...แวะซิคะ
จอดรถแล้ว เดินไปบ้านแบบกัชโช่หลังใหญ่...ชื่อว่าบ้านครอบครัว Iwase...
พิกัด 36.381074, 136.870740
บ้านหลังเป็นบ้านที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่โกคายะมะและชิราคะว่า
สืบต่อมาหลายรุ่น อายุประมาณ 300 ปี
ใช้เวลาสร้างกว่า 8 ปี ในช่วงเอโดะ โดย Fuji-cho Emon
ในปี 1958 ได้รับการจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
.....ค่าเข้าคนละ 300 Yen..
เที่ยวมา 2 หมู่บ้าน..ยังไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปในบ้านเลย..📷
ส่งตัวแทน....เฒ่าทูรเข้าไปเก็บรูป...ที่เหลือนั่งรอที่หน้าบ้าน
👂 ระหว่างนั่งรอก็ได้ยินเสียงร้อง
(มารู้ตอนหลังว่าเป็นเสียงในการแสดงให้ group ทัวร์ฝรั่งดู)
(มารู้ตอนหลังว่าเป็นเสียงในการแสดงให้ group ทัวร์ฝรั่งดู)
จากนั้น เฒ่าทูรวิ่งออกมาบอกว่า ..บ้านนี้น่าสนใจเข้าไปเที่ยวทุกคนเลย..
...ok ตามนั้น...ไปจ่ายเงินค่าเข้า...ที่มุมขายขอฝาก
สามป้า..เข้าไปทัน ตอนดื่มน้ำชา นั่งคุยกับ คุณปู่ Iwase ถึงเรื่องราวบ้านหลังนี้ .....
🏠 สมัยก่อนบ้านนี้มีอาชีพ ทำดินประสิว ที่ใช้ทำพลุนั้นแหละคะ... ซึ่งเป็นอาชีพของคนแถวนี้
แล้วพอเป็นรุ่นต่อๆ ไปก็ย้ายออกไป ไปอยู่ในระแวกนี้
คนที่รับดูแลต่อก็เป็นพี่ใหญ่ของบ้าน เป็นการส่งต่อรุ่นต่อรุ่น
⛰สำหรับ..การมุงหลังคาใหม่ เป็นกิจกรรมที่ต้องทำกันทุก 30 – 40 ปี เมื่อบ้านไหนถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา ชาวบ้านจะมาช่วยกันมุงหลังคาใหม่ โดยมักจะทำกันให้เสร็จภายใน 2 วัน เป็นงานที่ต้องเร่งมือทำกันมากเพื่อไม่ให้บ้านเสียหายหากฝนตก ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ Gassho ด้วยเหมือนกัน
ค่าใช้จ่ายในการมุงหลังคาใหม่แต่ละหลังจัดว่ามหาศาล (กว่า 6 ล้านบาท) โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้
** บอกก่อนนะคะว่า รูปเที่ยวบ้าน Iwase นั้นหายไปพร้อมกับ External..
ดังนั้นรูปที่อธิบาย ก็นั่งงมหาใน net นะคะ
จาก https://www.japanhoppers.com/en/chubu/nanto/kanko/957/ดังนั้นรูปที่อธิบาย ก็นั่งงมหาใน net นะคะ
http://www.gokayama.jp/english/heritege/stylearchitecture.html และ google map
เอาละ คุยพอรู้เรื่องบ้าง... 👣ก็ให้เดินสำรวจบ้าน..
บ้านหลังนี้มี 5 ชั้น เดินดูห้องต่างๆไปดูชั้นล่างกันก่อน
เดินตรงเข้าไปเป็นห้องพระ..กราบพระเพื่อเป็นสิริมงคลให้การเที่ยวเรียบร้อย
ทางซ้ายมือ เป็นมีห้อง เหมือนห้องรับแขก มีรูปคนดังหลายท่าน เจ้าชายในราชวงศ์ก็เคยมาเยี่ยมที่นี้
ในห้องรับแขกนี้ ด้านขวามือ จะมีประตูทางออกไปข้างนอกบ้านได้
/-/ ไปดูชั้นบนกัน... บันได เป็นแบบพาด ชันเอาเรื่องอยู่
⏫ขึ้นกระได ที่อยู่ในห้องที่มีเตา.. แต่เวลาลง คนละด้าน เพราะกะไดมันแคบ
⏬ด้านที่ลง..จะมาก็เจอมุมขายของ..
สามเฒ่าอุดหนุน ซื้อผลไม้แห้ง และชา...เขาจะได้มีรายได้ มารักษาบ้านเก่านี้เอาไว้
ภาพจาก https://www.polarsteps.com/WayneChester/201770-japan-2017/2046250-the-iwase-house
... ⏫มาดูชั้นบนว่าเป็นอย่างไร..
พอขึ้นมาก็สัมผัสถึงควันไฟ ของเตาที่ด้านล่าง
ความสูงของตัวบ้านและหลังคาทรงสูง ทำให้ภายในบ้านแบ่งโดยเฉลี่ยได้ 2 – 4 ชั้น ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อ
✔1. หลังคาทรงสูงชันนี้ยังช่วยให้ฝนหรือหิมะไหลลงสู่ด้านล่างเร็วขึ้น ยามที่ฝนตกหนักก็จะไม่ทำให้น้ำฝนซึมผ่านหลังคาลงมาในตัวบ้าน และยามที่หิมะตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานานก็จะไม่ทำให้หลังคาต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไปของหิมะด้วย
✔2. การที่หลังค่ามีความสูงช่วยแทน การที่บ้านไม่ต้องมีปล่องควันได้
เพราะเวลาปรุงอาหารหรือจุดเตาฟืนสร้างความอบอุ่นในบ้าน
ควันก็จะลอยขึ้นสูงไม่ตลบอบอวลก็ในระดับที่มีคนอาศัยอยู่
...อย่าตอนที่เรานั่งอยู่ข้างล่าง เราไม่รู้สึกถึงควันไฟมาก แต่พอมาขึ้นชั้นบน สามารถเอา Auntie molly มาเป็นหมูรมควันได้เลย😃
✔3. ควันที่ลอยสูงขึ้นไป ก็จะช่วยลดความชื้นให้กับหลังคาหญ้าและฟางข้าว ดังนั้นพื้นที่กว้างขวางด้านบนก็พอเพียงที่จะใช้เก็บข้าวของ เลี้ยงหนอนไหมสำหรับทอผ้า หรือใช้เป็นยุ้งฉางสำหรับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาได้ด้วย
ที่ชั้นบน มีช่องหน้าต่างให้เห็นวิวแบบนี้
เอาละชื่นชมเป็นที่พอใจ... ไปต่อกันที่>> หมู่บ้านหลังคาโบราณชิราคาวะโกะ กันซักที...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น